Verb หรือ กริยา

Verb หรือ กริยา คือ คำที่แสดงการกระทำ อาการ หรือสถานะของการเป็นอยู่ เพื่อบ่งบอกการกระทำของนามหรือสรรพนาม เป็นตัวขับเคลื่อนของประโยค ส่งเสริมการกระทำ เวลา และความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน และสื่อความคิดเห็นหลักในประโยค กริยาคือกลไกที่ขับเคลื่อนความคิดของเราให้เคลื่อนไหว พวกเขาสรุปจังหวะการเต้นของหัวใจของการสื่อสาร กำหนดจังหวะ น้ำเสียง และความตั้งใจในการแสดงออกของเรา สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภทดังนี้
ประเภทของ Verb หรือ กริยา มี 3 ประเภท ดังนี้
1.Finite Verb (กริยาแท้)
Finite Verb คือ กริยาแท้ เป็นแกนกลางของประโยค ทำหน้าที่แสดงอาการ หรือการกระทำขอประธาน โดดเด่นด้วยความสามารถในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบตาม Subject (ประธาน), tense (กาลเวลา), Voice (ผู้กระทำ หรือ ผู้ถูกกระทำ) และmood (อารมณ์)
หลักการใช้ Finite Verb จะเปลี่ยนไปตาม
- เปลี่ยนไปตาม Subject (ประธาน)
ประธานเป็น singular (เอกพจน์) Verb จะเติม -s, -es เช่น
John goes to work by bike every day.
He loves playing football.
ประธานเป็น plural (พหูพจน์) รวมถึง I จะคงรูปเดิมไม่ต้องเติม -s, -es เช่น
I eat bread and milk for breakfast every day.
We like it very much.
- เปลี่ยนไปตาม Voice (ผู้กระทำ/ผู้ถูกกระทำ)
Active Voice : She writes a letter.
Passive Voice : A letter is written by Jisoo.
- เปลี่ยนไปตาม Tens (กาลเวลา)
จะผันรูปตาม Tense ทั้ง 12 Tenses
I went to school yesterday. (went คือกริยาช่องที่ 2 ที่ผันตาม Past simple tense)
I will go to school tomorrow. (will go คือ S. + will + V. inf ที่ผันตาม Future Simple)
I am going to school soon. (going คือกริยาเติม ing S. + V. to be (is/am/are) + V. ing ที่ผันตาม Present continuous tense)
- เปลี่ยนไปตาม Mood (อารมณ์)
The doctor suggested she take more rest. (take ผันตาม Subjunctive Mood นั่นคือ The doctor suggested ไม่ได้ผันตาม she จึงไม่ต้องเติม s)
If I were you, I would travel around the world. (กรณีนี้ใช้ I were แทนที่จะเป็น I was เนื่องจากกเป็นการสมสมมุติฐานซึ่งไม่ใช่ความจริง)
1.1 Transitive Verb (กริยาที่ต้องการกรรม)
Transitive Verb คือ กริยาที่ต้องการกรรมมารองรับ ได้แก่ love(รัก), hit(ตี), steal (ขโมย) และ teach(สอน) เป็นต้น
เช่น John hit the ball. ( hit เป็นกริยาที่มีกรรม ball มารองรับ ถ้าบอกเพียง John hit โดยไม่มีกรรมก็จะไม่ได้ความหมายว่า ตีใคร ตีอะไร ดังนั้น hit จึงเป็น Transitive Verb คือ กริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับ)
1.2Intransitive Verb (กริยาที่ไม่ต้องการกรรม)
Intransitive Verb คือ กริยาที่ไม่ต้องการกรรมมารองรับ ได้แก่ walk (เดิน), arrive (มาถึง), depart (ออกไป), sit (นั่ง), stand (ยืน), go (ไป) และ come (มา) เป็นต้น
เช่น We walk. (walk ไม่ต้องมีกรรมมาต้อท้ายก็เข้าใจความหมาย walk จึงเป็น Intransitive Verb)
1.3 Linking Verb (กริยาเชื่อม)
Linking Verb คือ กริยาที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อม Subject (ประธาน) กับคำอื่นเพื่อขยาดประธานในประโยค จะคล้ายกับ Verb to be แต่สามารถใช้ Adjective ตามหลังได้ ได้แก่ look (ดู), taste (มีรสชาติ), remain (ยังคง), become (กลายเป็น), grow (เติบโต), sound (ฟังดู), smell (มีกลิ่น), get (ได้รับ), appear (ดูเหมือน), turn (เปลี่ยนเป็น), feel (รู้สึก), และ seem (ดูเหมือน) เป็นต้น
เช่น That sound good. (นั่นฟังดูดี)
She looks beautiful. (เธอดูสวย)
2.Non- Finite Verb (กริยาไม่แท้)
Non- Finite Verb คือ กริยาที่ประกอบอยู่ในประโยค รูปแบบของคำกริยาที่ไม่มีการเปลี่ยนรูปไปตาม Subject (ประธาน), tense (กาลเวลา), Voice (ผู้กระทำ หรือ ผู้ถูกกระทำ) และmood (อารมณ์) คำกริยาเหล่านี้มีอยู่สามรูปแบบที่แตกต่างกัน ได้แก่ infinitives (กริยากรรมสมบูรณ์), gerunds (คำกริยากรรมสมบูรณ์กำลังทำ) และ participles (คำกริยากรรมสมบูรณ์เป็นผู้กระทำ)
- Infinitives
Infinitives คือ รูปแบบคำกริยาแบบหนึ่ง มักแสดงด้วยคำว่า to ตามด้วยกริยาฐาน พวกเขาไม่ได้ระบุว่าการกระทำนั้นเกิดขึ้นเมื่อใดหรือใครกำลังดำเนินการอยู่ Infinitives with to สามารถทำหน้าที่เป็นคำนาม คำคุณศัพท์ หรือคำวิเศษณ์ภายในประโยคได้ ตัวอย่างเช่น She loves to sing (เธอชอบร้องเพลง) คำว่า to sing เป็น infinitive ทำหน้าที่เป็นกรรมโดยตรง
- Gerunds
Gerunds คือ รูปแบบคำกริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม และลงท้ายด้วย -ing กริยาเหล่านี้สามารถแสดงการกระทำที่กำลังเกิดขึ้นได้โดยไม่มีข้อจำกัดจากเวลาหรือบุคคล ในประโยค Swimming is her favorite hobby คำว่า swimming ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
- Participles
Participles มี 3 รูปแบบ คือ Present Participles (-ing), Past Participles (-ed, -en หรือรูปแบบไม่สม่ำเสมอ) และ Perfect Participles (having + v.3 หรือ having + been + v.3) พวกเขามีความสามารถที่โดดเด่นในการทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ และปรับเปลี่ยนคำนามภายในประโยค เช่น The broken vase lay on the floor. (แจกันแตกวางอยู่บนพื้น) กริยาอดีต broken(แตก) อธิบายสถานะของคำนาม vase (แจกัน)
3.Auxiliary Verb หรือ Helping Verb (กริยาช่วย)
Auxiliary Verb หรือ Helping Verb คือกริยาที่ใช้ในประโยคบอกเล่า คำถาม ปฏิเสธ หรือ Passive Voice โดยช่วยกำหนดความหมายและโครงสร้างของประโยคโดยอาศัยคุณสมบัติทางไวยากรณ์ต่างๆ กริยาช่วยที่พบมากที่สุดในภาษาอังกฤษคือ “be” “have” และ “do” แต่กริยาช่วยอื่นๆ เช่น “can” “will” “shall” “may” และ “must” ก็ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วยเช่นกัน .