Pronoun หรือ คำสรรพนาม

Pronoun หรือ คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนาม ทำให้ภาษากระชับและมีประสิทธิภาพ คำสรรพนามช่วยให้เราหลีกเลี่ยงการใช้คำนาม และคำนามบุคลเพื่อป้องกันไม่ให้ใช้คำนามเดิมซ้ำเวลาพูดถึงคำนั้นอีกในประโยค ซึ่งอาจนำไปสู่ความสับสนและความซ้ำซ้อนได้ อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากหน้าที่ทางไวยากรณ์แล้ว คำสรรพนามยังมีความสำคัญเชิงลึกในแง่ของการเคารพอัตลักษณ์ทางเพศและความชอบส่วนบุคคล ซึ่งประเภทของ Pronoun มีหลายประเภท และมีหน้าที่แตกต่างกันไปดังนี้
ประเภทของ Pronoun หรือ คำสรรพนาม แบ่งออกเป็น 7 ประเภท
1. Personal Pronouns (คำสรรพนามบุคคล หรือ บุรษสรรพนาม)
คือ คำสรรพนามเหล่านี้เป็นคำสรรพนามที่ใช้บ่อยที่สุดและใช้เพื่ออ้างถึงบุคคล สิ่งของ หรือสิ่งที่เป็นนามธรรม อาจทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมในประโยค โดยจะแตกต่างกันไปตามมุมมองบุคคล (บุรุษที่ 1 (ผู้พูด) นามบุรุษที่ 2 (ผู้ฟัง) นามบุรุษที่ 3 (ผู้ที่ถูกกล่าวถึง) และเพศ ตัวอย่างเช่น I, you, we, they, he, she และ it

หน้าที่และการใช้งานของ Personal Pronouns
1.Subjective Pronouns (สรรพนามรูปประธาน) คือ บุรุษสรรพนามที่ใช้เป็นประธานของประโยค ได้แก่ I, you, he, she, it, we, they
ตัวอย่างเช่น : She is going to the store (เธอกำลังจะไปที่ร้านค้า)
2.Objective Pronouns (สรรพนามรูปกรรม) คือ บุรุษสรรพนามที่ใช้เป็นกรรมของกริยาหรือคำบุพบทในประโยค ได้แก่ me, you, him, her, it, us, them
ตัวอย่างเช่น : They invited us to the party. (พวกเขาเชิญเราไปงานปาร์ตี้)

2.Possessive Pronouns (คำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ)
คือ คำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ ใช้เพื่อแสดงถึงความเป็นเจ้าว่าบางสิ่งบางอย่างเป็นของใคร คำเหล่านี้ช่วยให้เราสามารถระบุว่าสิ่งใดเป็นของบุคลคนใด นอกจากนี้ยังช่วยลดความรบกวนจากการใช้ชื่อเต็มหรือคำอื่น ๆ ที่อาจทำให้ประโยคยาวเกินไป คำ ได้แก่ mine, yours, his, hers, its, ours, theirs ตัวอย่างเช่น The book is yours. (หนังสือเป็นของคุณ)
หลักการใช้ Possessive Pronouns

1.ใช้ Possessive Pronouns เป็นประธานของประโยค
จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีการกล่าวถึงประธานนั้นมาก่อนแล้ว
เช่น This is my pen. Yours is over there. นี่เป็นปากกาของฉัน (ปากกา) ของคุณอยู่ตรงนั้น (yours คือ possessive pronoun ของคำว่า pen)
2.ใช้ในรูป Noun + of + Possessive Pronouns
ใช้เพื่อต้องการเน้นการแสดงความเป็นเจ้าของโดยวางอยู่หลัง of
เช่น I’m a friend of hers. ฉันเป็นเพื่อนของเธอ
3.ใช้ Possessive Pronouns ตามหลัง Verb to be
ใช้เพื่อเป็นส่วนเติมเต็มของประโยค มักจะวางหลัง Verb to be
เช่น This book is mine. That one is yours. หนังสือนี้เป็นของฉัน หนังสือนั้นเป็นของคุณ
3. Reflexive Pronouns (คำสรรพนามกลุ่มตนเอง)
คือ คำสรรพนามที่ใช้เมื่อประธานและกรรมของประโยคเหมือนกัน โดยมักลงท้ายด้วย “-self” (เอกพจน์) หรือ “-selves” (พหูพจน์)ได้แก่ myself, yourself, himself, herself, itself, ourselves, ตัวอย่างเช่น She taught herself to play the piano. (เธอสอนตัวเองให้เล่นเปียโน)
หลักการใช้ Reflexive Pronoun
1.ใช้เพื่อเน้นประธานว่าเป็นผู้กระทำ วางอยู่หลังประธานหรือหลังประโยค เช่น
Ploy herself went to Phuket. (พลอยไปภูเก็ตเอง)
The wound will heal itself. (แผลจะหายด้วยตัวมันเอง)
2.อยู่หลัง by ใช้เพื่อนต้องการเน้นว่าประธานเป็นผู้กระทำ by + reflexive pronoun เช่น
I like living by myself. (ฉันชอบใช้ชีวิตอยู่คนเดียว)
Ball and Jane designed their house by themselves. (บอลและเจนออกแบบบ้านของพวกเขาด้วยตัวเอง)
3.วางอยู่หลัง กริยา Verb + reflexive pronoun เช่น
He made herself a cake. (เขาทำเค้กให้ตัวเอง)
My mother bought himself a car. (แม่ของฉันซื้อรถยนต์ให้ตัวเอง)

4.Definite Pronoun หรือ Demonstrative Pronouns (สรรพนามชี้เฉพาะเจาะจง)

คือ คำสรรพนามที่ใช้เพื่อชี้ให้เห็นเฉพาะเจาะจงลงไปว่าเป็นของ คน สัตว์ สิ่งของ นี้ ได้แก่ this (นี้), these (เหล่านี้) หรือ คน สัตว์ สิ่งของ นั้น ได้แก่ that (นั้น), those (เหล่านั้น)
เช่น This is my cat. (นี่คือแมวของฉัน)
These are my pen. (เหล่านี้คือปากกาของฉัน)
That is your book. (นั้นคือหนังสือของคุณ)
Those are their teachers. (เหล่านั้นคือคุณครูของฉัน)
There are two pencil on the desk. Which one is mine? (มีหนังสือดินสอสองแท่งอยู่บนโต๊ะ อันไหนเป็นของฉัน)
She said life was about choices, the ones we make well, the ones we don’t. (เธอบอกว่าชีวิตคือการมีตัวเลือก มีทั้งที่เราเลือกตัวเลือกได้ดี และเลือกได้ไม่ดี)
5. Indefinite Pronoun (สรรพนามไม่ชี้เฉพาะเจาะจง)

คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามทั่วไปไม่ได้ชี้เฉพาะเจาะจงลงไปว่าเป็นบุคคลไหน หรือสิ่งของไหน โดยส่วนมากสรรพนามประเภทนี้จะนับเป็นเอกพจน์ ได้แก่ all (ทั้งหมด), no one (ไม่มีใคร), someone (บางคน), anybody (ใครก็ตาม), anyone (ใครก็ตาม), something (บางสิ่ง), everything (ทุกสิ่ง), nobody (ไม่มีใคร) และ nothing (ไม่มีอะไรเลย)
เช่น Somebody will go there. (ใครบางคนจะไปที่นั่น)
Something happened yesterday. (บางสิ่งเกินขึ้นเมื่อวานนี้)
Is there anyone here by the name of John? (มีใครที่นี่ชื่อจอห์นบ้าง?)
6. Relative Pronoun (สรรพนามเชื่อมความ)

คือ คำสรรพนามที่ทำหน้าที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวมาแล้วในประโยคข้างหน้า และเชื่อมต่อกับประโยคหลังให้มีความหมาย เนื้อหา ไปในทางเดียวกัน ได้แก่ who (ผู้ที่), whom (ผู้ที่), whose ซึ่ง…ของ), which (อันที่,สิ่งที่) และ that (ผู้ที่,อันที่,สิ่งที่)
เช่น Pote loves Joy who works at the mall. (โปเต้รักจอยคนที่ทำงานที่ห้างสรรสินค้า)
The girl who sat beside him was his daughter. (เด็กผู้หญิงที่นั่งข้างเขาคือลูกสาวของเขาเอง)
There is a boy who is running in the park. (มีเด็กชายคนหนึ่งที่กำลังวิ่งอยู่ในสวนสาธารณะ)
7. Interrogative Pronouns (คำสรรพนามคำถาม)

คือ คำสรรพนามที่อยู่ในประโยคคำถาม ใช้แทนคำนามเพื่อถามคำถาม ได้แก่ who (ใคร), whom (ใคร), whose (ของใคร), which (อันไหน) และ what (อะไร)
เช่น Who is that girl? (ผู้หญิงคนนั้นคือใคร)
What is your name? (คุณชื่ออะไร)
Which is your car? (รถยนต์ของคุณคันไหน)
อ่านเพิ่มเติม : ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
เรื่องราวที่เกี่ยวยข้อง : Noun หรือ คำนาม